มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดตัววิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัลก้าวสู่การสร้างทักษะนักศึกษาให้มีความสามารถด้าน Digital Literacy ด้วยความพร้อมทั้ง เครื่องมือ อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่พร้อมปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อสนับสนุนนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวแนะนาคณะใหม่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ที่พร้อมปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อสนับสนุนนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (นโยบายประเทศไทย 4.0 หรือThailand 4.0) มีวิสัยทัศน์ในการเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในอาเซียนตอนบน (To be Northern ASEAN Digital Hub) จึงได้พัฒนาหลักสูตรด้านนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน ที่รองรับความต้องการตลาดแรงงาน และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ด้านการบ่มเพาะธุรกิจ กฎหมายดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงิน รวมไปถึงการสร้างทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ


จุดเด่นของหลักสูตรนี้จะสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ก้าวสู่การสร้างทักษะนักศึกษาให้มีความสามารถด้าน Digital Literacy ด้วยความพร้อมทั้ง เครื่องมือ อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสนับสนุนการจัดการศึกษาในวิชาที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในกระแส (Trend) เช่น Private Cloud Server (Hyper-convergence) ที่ใช้กับข้อมูลจานวนมากในการคานวณขั้นสูงและมีความสลับซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทาได้ด้วยคอมพิวเตอร์ปกติ, Virtual Machine Server ใช้ในการจาลองเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการให้มีจานวนมากโดยใช้ Hardware เพียงเครื่องเดียว เป็นต้น คณาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงจากภาคอุตสาหกรรมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ชั้นนาจากต่างประเทศ ที่ส่งเสริมพัฒนาให้นักศึกษาคิดเป็น ทำเป็น สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติเป็นผู้ประกอบการนานาชาติ ที่มีทักษะ 3T คือ เทคโนโลยี (Technology), ความเชี่ยวชาญ (Talent) และมีความอดทน (Tolerance) สามารถปฏิบัติจริงได้ในระดับสากล จึงได้เปิดตัวหลักสูตรด้านนวัตกรรมดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงิน ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรจากผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนาในต่างประเทศ อาทิเช่น University of Electronic Science and Technology of China, PRC, University of Westminster, UK, Alibaba Global Supplier Development, PRC, Stiftung Entrepreneurship, Germany


วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหลักสูตรที่รองรับนโยบายดังกล่าว เหมาะสาหรับผู้ที่สนใจที่มีพื้นฐานในระดับต่างๆ จานวน 4 หลักสูตร ประกอบด้วย
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตร 4 ปี ที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจเท่าทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ บูรณาการณ์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ สามารถประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาสินค้า บริการ และแผนธุรกิจใหม่ ทั้งราชการธุรกิจ หรือสังคม บนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลทั้งระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้ง 4 ปี หรือเรียนที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 2 ปี และไปเรียนต่อในต่างประเทศอีก 2 ปี
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ/สหวิทยาการ) หลักสูตรในรูปแบบโมดูล (Module) และแบบปฏิบัติจริง พร้อมลงสนามเรียนรู้เป็นผู้ประกอบการนานาชาติในต่างประเทศ 4 เมือง 3 ประเทศ มุ่งเน้นการสร้าง “ยูนิคอร์น” ให้กับคนไทย เมื่อจบหลักสูตรสามารถออก ICO White Paper & Financial Module หรือหนังสือชี้ชวน และข้อมูลเสนอขายหุ้นเป็นเงินสกุลดิจิทัล ที่เป็นช่องทางในการระดมทุนเข้าสู่บริษัทได้
3. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ/ สหวิทยาการ) มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และบุคลากรในระดับผู้กาหนดนโยบายและวางแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อให้สามารถทางานสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้สามารถพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้
4. หลักสูตรฝึกอบรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรเรียนในลักษณะโมดูล (Module) ให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะ (Up-Skill, Re-skill) ที่ตรงกับความต้องการด้านอาชีพของผู้เรียน และความต้องการของผู้ประกอบการ สามารถเทียบโอนได้กับกระบวนวิชาในระดับปริญญาโทของวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัลอีกด้วย
*************************
สาหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.icdi.cmu.ac.th หรือโทรศัพท์หมายเลข 053-942606