เชียงใหม่จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปีของการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO

เชียงใหม่ครบรอบ 1 ปีของการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ในเทศกาล Chiang Mai Crafts Fair 2018 จึงได้จัดงานเฉลิมฉลองครอบรอบ 1 ปี ของเมืองเชียงใหม่ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเมืองเครือข่ายสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ภายใต้ชื่องาน  “1st  Year  Anniversary, The Celebration of UNESCO Chiang Mai City of Crafts and Folk Art Designation

เชียงใหม่ – 10 ธันวาคม 2561 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ นางสาววรรณศรี  ปัญญาประชุมผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ร่วมด้วย รศ.ดร. วรลัญจก์  บุณยสุรัตน์  หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การunesco สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ,ตัวแทนเครือข่ายรวมถึงผู้มีเกียรติรวมถึงสื่อมวลชนร่วมกันเปิดกิจกรรม“1st  Year  Anniversary, The Celebration of UNESCO Chiang Mai City of Crafts and Folk Art Designation

 

โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่าย UNESCO  สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2557ได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการร่วมมือกันในการพัฒนาผลักดันให้เมืองเชียงใหม่มีศักยภาพความพร้อมในด้านต่างๆโดยกิจกรรมในปีนี้ทางโครงการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของงานหัตถกรรมประเภทผ้า ที่ทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนหัตถกรรมพื้นที่เมืองเชียงใหม่ อัตลักษณ์ของผ้าในแต่ละพื้นที่ เทคนิคการการทอผ้า  การสร้างสรรค์ลวดลาย จึงได้มีการจัดอบรมฝีมือผู้ที่สนใจในการรังสรรค์ผลงานร่วมกันกับชุมชนหัตถกรรมของภาคเหนือ ได้เรียนรู้และสร้างสรรค์งาน และนำผลงานมาจัดแสดงที่คราฟแฟร์ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับการต่อยอดอาชีพ

รศ.ดร. วรลัญจก์  บุณยสุรัตน์ กล่าวว่า เทศกาล Chiang Mai Crafts Fairครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2เพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ที่นำเสนอถึงงานหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่และรากฐานมรดกทางวัฒนธรรมของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเป็นการนำเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ โดยกลุ่มช่างฝีมือพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ เทคนิคเฉพาะในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมร่วมสมัย ร่วมกับนักสร้างสรรค์ผู้ที่มีความสนใจในมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเชียงใหม่ อันมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งจะเป็นการนำเสนอรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ใหม่ อันเกิดจากการต่อยอดทางด้านแนวคิดและเทคนิค จากทุนทางวัฒนธรรมจากงานหัตถกรรมดั้งเดิม (Wisdom) ร่วมกับนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Innovation) สู่การออกแบบงานหัตถกรรมร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ด้อยโอกาสของผลิตภัณฑ์ที่มาจากทุนทางวัฒนธรรมเดิมทำให้เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดเทศกาล Chiang Mai Crafts Fair ได้ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่ (TCDC)

การจัดเทศกาลในปีนี้ ทางโครงการ Chiang Mai City of Crafts and Folk Art ได้กำหนดแนวคิดในการจัดนิทรรศการในหัวข้อ “Use Share Care Protect” มิติใหม่ในชีวิตธรรมดา ส่งมอบคุณค่าสู่สาธารณะ เมืองแห่งศิลปหัตถกรรม รากฐานทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนโดยทางโครงการต้องการสร้างพื้นที่การนำเสนองานหัตถกรรมอย่างสร้างสรรค์โดยยึดหลักการออกแบบที่นำรากฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อนำมาสร้างสรรค์งานออกแบบแนวคิดของโครงการ

ในฐานะที่เมืองเชียงใหม่เป็นสมาชิกเมืองเครือข่ายสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ในเทศกาล Chiang Mai Crafts Fair 2018 จึงได้จัดงานเฉลิมฉลองครอบรอบ 1 ปี ของเมืองเชียงใหม่ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเมืองเครือข่ายสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ภายใต้ชื่องาน  “1st  Year  Anniversary, The Celebration of UNESCO Chiang Mai City of Crafts and Folk Art Designation

นางสาววรรณศรี  ปัญญาประชุมผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้สนับสนุนให้โครงการฯ จัดกิจกรรม Crafts Fair 2018 ร่วมกับ Chiang Mai Design Weekโดยมีวัตถุประสงค์นำเสนอถึงงานหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่บนรากฐานมรดกทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ผลงานโดยกลุ่มช่างฝีมือพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ เทคนิคเฉพาะ ร่วมกับนักสร้างสรรค์ ที่มีความสนใจในการนำภูมิปัญญาดั้งเดิมสู่การออกแบบงานหัตถกรรมร่วมสมัยเพื่อส่งเสริมอาชีพและยังสามารถพัฒนารากฐานของตนเองต่อยอดคุณค่า เพิ่มมูลค่าทำให้เกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อไป