อุตราวิถี วิถีใหม่แห่งการเดินทางโดยรถไฟ

สะพายย่ามเที่ยว

ด้วยรถไฟขบวนพิเศษ เส้นทาง อุตราวิถี เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ

0 170119 1653 0 170119 1654 0 170119 1655 0 170119 1656 0 170119 1657 001 อุตราวิถี

กรุงเทพมหานคร – เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ มกราคมที่ผ่านมา ทีมข่าว NAWAPRESSonline มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถไฟขบวนพิเศษ เส้นทาง อุตราวิถี เชียงใหม่ – กรุงเทพฯ พร้อมด้วยผู้โดยสารทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย ทั้งวัยหนุ่มสาวและรุ่นลายครามเต็มขบวน ซึ่งเส้นทาง อุตราวิถี กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยเริ่มบริการเดินรถโดยสารรุ่นใหม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ทดแทน ด่วนพิเศษนครพิงค์ ซึ่งยุติการทำงานในวันเดียวกัน

0 170119 1658 อุตราวิถี 0 170119 1709 0 170119 1737 0 170119 1806 อุตราวิถี

อุตราวิถี เป็นนามพระราชทานที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้แก่เส้นทางรถไฟสายเหนือขบวนนี้ พร้อมด้วยอีก ๓ เส้นทาง ได้แก่ อีสานวัฒนา กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ, อีสานมรรคา กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ, และ ทักษิณารัถย์ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ ซึ่งรถไฟที่จะใช้วิ่งตามเส้นทางเหล่านี้ นั้น เป็นรถโดยสารที่การรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งซื้อมาจำนวน ๑๑๕ คัน ผลิตจากโรงงาน บริษัท ฉางชุน เรลเวย์วีฮิเคิลส์ จำกัด โดยผลิตตามคุณสมบัติที่กำหนด

0 170119 1828 0 170119 1829 0 170119 1830 0 170119 1832 001 อุตราวิถีอุตราวิถี

รถชุดใหม่นี้ใช้ระบบแคร่ล้อแบบใหม่ และระบบดิสเบรก (Disk Brake System) เข้ามาแทนการห้ามล้อแบบเดิมที่ใช้แท่งห้ามล้อระบบลมอัด ดังนั้น การเบรคก็จะนิ่มนวลขึ้นและไม่เปลืองแท่งห้ามล้อ และสามารถรองรับเร็วสูงสุด ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่จะวิ่งอยู่ที่ ๙๐-๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกทั้งหยุดจอดน้อยกว่าเดิมซึ่งทำให้ถึงที่หมายปลายทางเร็วกว่าเดิม

0 170119 1836 0 170119 1845 0 170119 1849 0 170119 1906 0 170119 1908 002 อุตราวิถี

ใน ๑ ริ้วขบวน ประกอบด้วยรถคันต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้

๑. รถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (Power Car) จำนวน ๑ คัน ภายในมีเครื่องปั่นกระแสไฟเพื่อจ่ายไฟให้ทั้งขบวน และเป็นที่ทำงานของพนักงานรถไฟ ยกเว้นพนักงานรถนอนที่จะอยู่ประจำตู้ ซึ่งเมื่อมีรถไฟฟ้ากำลังแล้ว คันที่เหลือจึงไม่มีเครื่องยนต์ใต้ตู้แบบรถรุ่นเก่า ทำให้เสียงบริเวณชานชลาและไม่เหม็นควันเมื่อเดินผ่าน ในรถก็เงียบมากและเมื่อเวลารถวิ่งก็จะได้ยินแต่เสียงรางเท่านั้น รถคันนี้มีห้องพักพนักงานรักษารถและพนักงานรถจักร ห้องทำงานพนักงานรักษารเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ห้องควบคุมระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการผู้โดยสาร ระบบโทรทัศน์วงจรปิด และห้องน้ำ

๒. รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ ๒ (บนท.ป.) จำนวน ๙ คัน ที่นั่งผู้โดยสารสีแดงและสามารถปรับเป็นที่นอน มีห้องน้ำและห้องปัสสาวะ อ่างล้างมือ หลอดไฟฟ้าส่องสว่าง ปลั๊กไฟ ๒๒๐ โวลต์ จอภาพแสดงสถานะขบวนรถ และระบบโทรทัศน์วงจรปิด

๓. รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ ๒ (บนท.ป. มีพื้นที่รองรับผู้พิการ) จำนวน ๑ คัน มีที่นั่งผู้โดยสารสามารถปรับเป็นที่นอน ที่นั่งผู้โดยสารพิการ มีห้องน้ำผู้พิการ ห้องน้ำและอ่างล้างมือ หลอดไฟฟ้าส่องสว่าง ปลั๊กไฟ ๒๒๐ โวลต์ พื้นที่จัดเก็บรถผู้พิการ ระบบสัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS) จอภาพแสดงสถานะขบวนรถ และระบบโทรทัศน์วงจรปิด

๔. รถขายอาหารปรับอากาศ (บกข.ป.) จำนวน ๑ คัน ที่นั่งรับประทานอาหารสีเขียว หลอดไฟฟ้าส่องสว่าง มีระบบโทรทัศน์วงจรปิด WIFI จอ LED แสดงรายการอาหารและเครื่องดื่มพื้นที่นั่งรับประทานอาหารสำหรับผู้พิการ Serving Counter และห้องเตรียมอาหาร

๕. รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ ๑ (บนอ.ป.) จำนวน ๑ คัน มีห้องโดยสารที่นั่งสีบานเย็น มีอ่างล้างมือในห้อง ห้องน้ำและห้องปัสสาวะ ห้องอาบน้ำ WIFI หลอดไฟฟ้าส่องสว่าง ปลั๊กไฟ ๒๒๐ โวลต์ จอ LED แบบ Touch Screen และระบบโทรทัศน์วงจรปิด

0 170119 1927 002 0 170119 1940 0 170119 1957 อุตราวิถี

อัตราค่าบริการช่วงระยะเวลาโปรโมชั่น เดินทางระหว่างวันที่ ๑๑ พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา-๒๘ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ในขบวนรถด่วนพิเศษเส้นทาง อุตราวิถี ที่ ๙ ขาขึ้น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และขบวนที่ ๑๐ ขาล่อง เชียงใหม่-กรุงเทพฯ มีดังนี้

ชั้น ๒ เตียงบน ราคา ๗๙๑ บาท

ชั้น ๒ เตียงล่าง ราคา ๘๘๑ บาท

ชั้น ๑ เตียงบน ราคา ๑,๒๕๓ บาท

ชั้น ๑ เตียงล่าง ราคา ๑,๔๕๓ บาท

ชั้น ๑ เหมาห้องสำหรับผู้โดยสารที่ประสงค์เดินทาง ๑ คนต่อ ๑ ห้อง ราคา ๑,๙๕๓ บาท

พิพัฒน์ ศรีตะวัน ภาพ/ข่าว

MG Chiang Mai