กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา “แอ่วเหนือ ผ่อเวียง เล่าเรื่องบะเก่า” ศึกษาสำรวจ รวบรวมข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวและความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ เพื่อจัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนนา จำนวน 4 เส้นทาง
วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินการกิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา“แอ่วเหนือ ผ่อเวียง เล่าเรื่องบะเก่า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ว่าที่ร้อยเอกสันติพงศ์ บุลยเลิศ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ นายธนกร สมฤทธิ์ บริษัท เกรท มอร์ โซลูชั่น จำกัด ผู้ดำเนินงาน รวมไปถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยว วิทยากรและสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
กิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา“แอ่วเหนือ ผ่อเวียง เล่าเรื่องบะเก่า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้ร่วมมือร่วมใจจัดขึ้น ทั้ง 4 เส้นทาง ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ สามารถสร้างการรับรู้ การทดลองสัมผัสกับเส้นทางท่องเที่ยวจริงๆ และสามารถผยแพร่ผ่านสื่อไปในวงกว้าง เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้สนใจ สามารถพัฒนาต่อยอด ให้เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่อไปได้
“แอ่วเหนือ ผ่อเวียง เล่าเรื่องบะเก่า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2566
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา“แอ่วเหนือ ผ่อเวียง เล่าเรื่องบะเก่า” ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย
1. ศึกษาสำรวจ รวบรวมข้อมูล ด้านการท่องเที่ยวและความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ เพื่อจัดทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนนา จำนวน 4 เส้นทาง
2. จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา จำนวน 4 เส้นทาง (โดยการจัดเส้นทางต้องเชื่อมโยงกันไม่น้อยกว่า 2 จังหวัด ใน 1 เส้นทาง) ประกอบการด้วย
เส้นทางที่ 1 เส้นทางท่องเที่ยวแหล่งเครื่องปั้นดินเผาล้านนา
เส้นทางที่ 2เส้นทางตามรอยผ้าซิ่นตีนจกและผ้าไหมยกดอกเนื่องในวาระชาตกาล 150 ปี
ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาฯ
เส้นทางที่ 3เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยธรรมยาตราบารมีครูบาเจ้าศรีวิชัย
เส้นทางที่ 4เส้นทางท่องเที่ยว ยุคก่อนประวัติศาสตร์
3. จัดประชุมระดมความคิดเห็นด้านการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 4 ครั้ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการท่องเที่ยว นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผู้แทนด้านสถาบันการศึกษา มัคคุเทศก์ สื่อมวลชน และผู้สนใจ ครั้งละ 30 ท่าน
4. ดำเนินการจัดกิจกรรม FAM TRIP ประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา จำนวนไม่น้อยกว่า 4 เส้นทาง โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว เส้นทางละ 30 ท่าน 4 เส้นทาง รวมไม่น้อยกว่า 120 ท่าน
5. กิจกรรประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบ online และ offline เส้นทางท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ล้านนา
ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน
More Stories
สนง.วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่และสภาวัฒนธรรมฯหนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอสันป่าตอง สู่ Soft Power
“Season of North”การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือ 2568
เชียงใหม่ พร้อมจัดงานหกรรมไม้ดอกไม้ประดับประจำปี 2567 วันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ นี้