Philips Health Innovation สินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพจาก ฟิลิปส์

ชิชาง พรอมเมนาดา

เชียงใหม่ – เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคมที่ผ่านมา ณ ภัตตาคารเลอค๊อกดอร์ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท ชิชาง คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง และนวัตกรรมการช่วยชีวิตด้วยเครื่อง AED ให้แก่กลุ่มลูกค้าได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสื่อมวลชน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย

ชิชาง ชิชาง พรอมเมนาดา

ภายในงาน ฟิลิปส์ เปิดตัวสินค้าเครื่องฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง AC6609 เพื่อการใช้งานในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น โรงเรียน และสำนักงาน เป็นต้น ผสานสุดยอดเทคโนโลยีอัจฉริยะ AeraSense และ VitaShield IPS ตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง พร้อมฟอกอากาศอย่างรวดเร็ว กำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง ๐.๐๒ ไมครอน กำจัดก๊าซและสารระเหยอินทรีย์ TVOC ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ถึงร้อยละ ๙๙.๙๗ และกำจัดไวรัส และแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชิชาง ชิชาง พรอมเมนาดา

เทคโนโลยี AeraSense เซ็นเซอร์คุณภาพสูงลิขสิทธิ์เฉพาะของฟิลิปส์เทียบได้กับประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถตรวจจับมลภาวะในอากาศได้ถึง PM2.5 หรือ ๒.๕ ไมครอน เครื่องฟอกอากาศฟิลิปส์จะตรวจจับและปรับระดับการทำงานให้เหมาะสมกับการกำจัดฝุ่นละอองในขณะนั้น พร้อมฟังก์ชั่นแสดงผลระดับฟุ่นเป็นตัวเลขแบบเรียลไทม์โดยใช้ PM2.5 เป็นหน่วยวัด จึงมั่นใจถึงอากาศบริสุทธิ์ภายในบ้านได้ตลอดเวลา

ชิชาง ชิชาง พรอมเมนาดา

เทคโนโลยี VitaShield IPS ระบบกรองอากาศคุณภาพสูง สามารถกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซที่เป็นอันตราย สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แบคทีเรีย ไวรัส รวมทั้งมลภาวะในอากาศ และมอบอากาศสะอาดบริสุทธิ์โดยปราศจากการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายมีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ ๙๙.๙๗ อีกทั้งสามารถกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ กำจัดไวรัส (H1N1) และแบคทีเรียในบ้านได้ถึงร้อยละ ๙๙.๙ ส่วนแผ่นกรอง NanoProtect นั้น สามารถดักจับอนุภาคขนาดเล็กมากถึง ๐.๐๒ ไมครอน หรือ ๒๐ นาโนเมตร ทั้งนี้ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบัน AHAM สหรัฐอเมริกา ที่เป็นสถาบันชั้นนำของโลกด้านการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ และสถาบันวิจัยโรคภูมิแพ้ ECARF แห่งยุโรปแล้ว

ชิชาง พรอมเมนาดา

นอกจากนี้ ฟิลิปส์ ยังนำเสนอนวัตกรรมแห่งการช่วยชีวิต ผ่านเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือ เครื่อง AED ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่คิดค้นมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งฟิลิปส์เล็งเห็นว่า หากคนในสังคม หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยอาการดังกล่าว มีความรู้ในการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้ ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า หากมีการปฏิบัติการช่วยชีวิตที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพภายใน ๔ นาที ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึงร้อยละ ๔๐ แต่หากผู้ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลือเกิน ๑๒ นาที ผู้ป่วยก็อาจจะเสียชีวิตได้

ชิชาง พรอมเมนาดา

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เรื่องการกำหนดให้การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (AED) เป็นเครื่องมือปฐมพยาบาลแล้ว ทำให้ประชาชนสามารถใช้เครื่อง AED เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินได้อย่างมั่นใจ อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปควรมีพื้นฐานการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนควบคู่ไปกับการใช้เครื่อง AED ด้วยเช่นกัน

พิพัฒน์ ศรีตะวัน ภาพ/ข่าว