เปิดตัว “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์”4 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม

 

เปิดตัว “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV) หรือ “หมู่บ้าน CIV” 4 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม

            เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมแผนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคเหนือตอนบน ๔ จังหวัด พร้อมเปิดตัวหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยมีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ที่ห้องลานนา บอลรูม ๑ โรงแรมแชงกรีลา เชียงใหม่
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศให้เป็นยุค 4. 0 (Thailand 4.0) ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานความได้เปรียบเชิงวัฒนธรรม ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำเสนอภาพลักษณ์ของประเทศไทยในมุมมองใหม่ผนวกกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สร้างมูลค่าบนพื้นฐานความรู้ มุ่งเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก


กิจกรรมการพัฒนา “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV) หรือ “หมู่บ้าน CIV” ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่า มีจิตบริการ ที่บริหารโดยชุมชน เป็นการสร้างเสริมรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชน ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการทิ้งถิ่นฐาน โดยดำเนินมา ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศให้เป็นยุค 4. 0 (Thailand 4.0) ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานความได้เปรียบเชิงวัฒนธรรม ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยนำเสนอภาพลักษณ์ของประเทศไทยในมุมมองใหม่ผนวกกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สร้างมูลค่าบนพื้นฐานความรู้ มุ่งเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานในการประสานและสร้างความเข้าใจกับชุมชนก่อให้เกิด กิจกรรมการพัฒนา “หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV) หรือ “หมู่บ้าน CIV” ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ หมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเพื่อสร้างมูลค่า มีจิตบริการ ที่บริหารโดยชุมชน เป็นการสร้างเสริมรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชน  ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีอาชีพ ลดการทิ้งถิ่นฐานบ้าน ทั้งนี้ หมู่บ้าน CIV ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบของการบูรณาการงานร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

     ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตอบสนองแผนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์นี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 จุดประสงค์หลัก คือ

  1. วางรากฐานแนวคิดในการนำทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อสร้างรายได้ให้แกชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดการท่องเที่ยว
  3. เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้แก่ชุมชนโดยการสร้างกิจกรรมรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

จากการศึกษาความพร้อมของชุมชนในพื้นที่ บางพื้นที่โดดเด่นเรื่องผลิตภัณฑ์แต่ขาดความรู้ในการบริหาร มีการจัดการด้านการท่องเที่ยวแต่ขาดกิจกรรมที่จะดึงนักท่องเที่ยว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภาคที่ 1 ได้มีส่วนช่วยประสานสนับสนุนให้มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ยกระดับคุณภาพสินค้าและการท่องเที่ยวควบคู่กันไป ดึงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิปัญญาของแต่พื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน ให้แนวคิดและวางแผนการทำงานในสิ่งที่ชุมชนต้องการ  เป็นการพัฒนาแบบองค์รวมร่วมกันกับผู้นำชุมชน  โดยผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ  และหมู่บ้านร่วมกันจัดทำแผนธุรกิจเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว โดยใช้ความสร้างสรรค์และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในพื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการของชุมชนตามแนวประชารัฐ เพื่อยกระดับชุมชน ซึ่งในระยะยาวจะช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สร้างการพัฒนา การจ้างงาน ประชาชนมีศักยภาพในการใช้จ่ายทำให้เศรษฐกิจหมุนอีกครั้ง

จังหวัดที่ได้เข้าร่วมพัฒนาในปีนี้ได้แก่ หมู่บ้านภาคเหนือตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จังหวัดเชียงใหม่   บ้านจุ้ม เมืองเย็น ร้อยเรื่องเล่า พันนาภูเลา พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

      ”บ้านจุ้ม เมืองเย็น” คือ การรักษาวิถีชีวิตพื้นบ้านที่มีความผูกพันภายในชุมชน มีความโอบอ้อมอารีมีน้ำใจ นั่นหมายถึงวิถีชีวิตแบบ “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” (บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็น) “ร้อยเรื่องเล่า” หมายถึง ชุมชนออนใต้นั้นเป็นเมืองเก่าที่มีตำนานมากมาย ในลักษณะ “ร้อยเรื่องเล่า” หนึ่งใน “ร้อยเรื่องเล่า” คือ การค้นพบศิลาจารึกในวัดเชียงแสน เป็นหลักฐานที่บอกว่าชาวบ้านที่นี่ อพยพมาจาก พันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออนก่อ ตั้งบ้านเมือง ผลิตเครื่องถ้วยชาม สร้างถิ่นฐานอยู่บนผืนดินแห่งนี้จนกระทั่งถึงกาลล่มสลายพื้นที่แห่งนี้คือ ตำบลออนใต้ ในปัจจุบัน

 

สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน

  • วัดเชียงแสน หมู่ 7 บ้านป่าตึง กษัตริย์นครเชียงใหม่ได้โปรดให้เจ้าอดิชวญาณบวรสิทธิ ราชมนตรี ชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันสร้างพระเจดีย์หล่อพระพุทธรูป สร้างหอไตรปิฎก พระพุทธรูปที่หล่อขึ้นชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าฝนแสนห่า” เมื่อสร้างเสร็จจึงขานนามว่า สาลกัลป์ญาณ มหันตาราม หมายถึง วัดที่ยิ่งใหญ่มีต้นสาละเป็นเอกลักษณ์ ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงแสน
  • วัดป่าตึง สร้างเมื่อปี 2425 มีหลวงปู่หล้าตาทิพย์ พระสายวัดป่าที่ชาวบ้านศรัทธา ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก
  • พระธาตุดอยโง้ม (ภูสองเมือง) ตั้งอยู่หมู่ 8 บ้านปงเป็นสถานที่ประดิษฐานกู่ของครูบาศรีวิชัย “นักบุญแห่งล้านนา” ตั้งอยู่บริเวณเขตติดต่อระหว่างตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง กับตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
  • อ่างเก็บน้ำห้วยลาน (โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยลาน และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีกสองแห่ง คือ อ่างเก็บน้ำดอยโดนและอ่างเก็บน้ำห้วยป่าไร่ เพื่อส่งน้ำให้กับกิจกรรมพัฒนาด้านป่าไม้ ด้านประมง และด้านเกษตรกรรมของราษฎร
  • ดอยหม่อนจิ๋ง ที่ได้รับการขนานนามว่า “ฟูจิออนใต้” บนเขามีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นตัวอำเภอแม่ออน อำเภอสันกำแพง และเมืองลำพูน

จังหวัดลำพูน เลื่องลือหัตถกรรม นำเด่นผ้าฝ้าย วัฒนธรรมสืบสาย ชาติพันธุ์ไทยอง พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คือ ตำบลหนองเงือก และ ตำบลบ้านดอนหลวง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

“เลื่องลือหัตถกรรม นำเด่นผ้าฝ้าย” เรื่องของหัตถกรรมการทอผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าฝ้ายทอมือ ลวดลายแบบโบราณที่สืบทอดต่อๆ กันมาเป็นเวลานานนับร้อยๆ ปี “วัฒนธรรมสืบสาย ชาติพันธุ์ไทยอง” ซึ่ง ชาวหนองเงือกมีบรรพบุรุษเป็นชาวยอง อาศัยอยู่ในมณฑลยูนาน แคว้นสิบสองปันนาซึ่งปัจจุบันอยู่ในการปกครองของประเทศจีน อพยพมาตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มแม่น้ำทา อำเภอ          ป่าซาง

สถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน

  • วัดดอนหลวง ถือได้ว่าเป็นแลนมาร์คของบ้านดอนหลวงด้วยมีทำเลที่ตั้งอยู่กลางชุมชน ด้านข้างวัดเป็นศาลาประชาคมและเป็นศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ภายในวัดดอนหลวงมีพระพุทธรูปยอง ศิลปะพม่า รูปปั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย หอเจ้าแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์เมือง หริภุญชัย
  • วัดหนองเงือก ศูนย์รวมใจไทยอง ไหว้พระธาตุวัดหนองเงือก ซึ่งภายในพระธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุ 101 องค์ สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2467พระธาตุมักจะแสดงปาฏิหาริย์เสด็จออกเป็นลูกไฟลอยขึ้นไปเหนือองค์พระธาตุ บางครั้งลอยท่องออกไปไกลลับตา โดยจะเสด็จกลับเข้ามาอีกครั้งตอนใกล้รุ่ง ปาฏิหาริย์นี้มักมักเกิดขึ้นก่อนวันพระ 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ผู้คนจำนวนไม่น้อยได้พบเห็นบ่อย ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก พระธาตุวัดหนองเงือกเป็นที่เคารพของชาวไทยองในตำบลแม่แรง
  • หนองออกรู หนองน้ำศักดิ์สิทธิ์ของบ้านหนองเงือกหนองน้ำแห่งนี้ ซึ่งมีน้ำไหลออกมาจากรูตลอดทั้งปี น้ำในหนองไม่เคยเหือดแห้ง เล่ากันว่าในอดีตมีผู้พบเห็นเงือก (พญานาค) ขนาดเท่าต้นตาล มักผุดขึ้นมาฉุดลากวัวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้จมหายลงไป อาศัยอยู่บริเวณ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านบวกเงือก” (บวก แปลว่า หนอง) และเรียกอย่างเป็นทางการว่า “บ้านหนองเงือก”
  • วัดป่าบุกศูนย์รวมแห่งศรัทธา ตั้งอยู่ที่บ้านป่าบุก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ภายในวัดมีพระธาตุครูบาศรี อริยวังโส เกจิอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวตำบลแม่แรง และมีศิษยานุศิษย์มากมาย หลังประชุมเพลิงอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุ 250 องค์ กระดูกบางชิ้นกลายเป็นแก้ว คณะศรัทธาจึงได้จัดประเพณีสรงน้ำพระธาตุครูบาศรี เป็นประจำในเดือน 9 เหนือ ณ วัดป่าปุก

จังหวัดลำปาง ถิ่นเครื่องปั้นลือนาม เล่าขานผ่านวิถีชุมชนเซรามิค พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  คือ  บ้านศาลาบัวบก และ บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

“ถิ่นเครื่องปั้นลือนาม เล่าขานผ่านวิถีชุมชนเซรามิค” วิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนทั้งสองแห่ง ที่มีอาชีพผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิคจำหน่าย เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน เป็นวิถีชีวิตที่ได้สืบทอดทำต่อกันมายาวนานซึ่งมีประวัติเรื่องราวและภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนแบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำเนินวีถีชีวิต

สถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน

  • ศูนย์เรียนรู้เซรามิค เยี่ยมชมโรงงานเซรามิค เรียนรู้ขั้นตอนการผลิตและสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง
  • สะพานศาลาเม็งพัฒนา สะพานข้ามแม่น้ำวัง ที่ประดับด้วยแจกันสวยๆ ตลอดความยาวของสะพาน
  • วัดศาลาบัวบก ศูนย์รวมจิตใจของชุมชน สร้างขึ้นเมื่อปี 2459 เดิมชื่อวัดศาลาดอกบัว เมื่อก่อนมีดอกบัวขึ้นบนบก เลยเปลี่ยนเป็นวัดศาลาบัวบก
  • วัดศาลาเม็ง นมัสการพระประธานปางมารวิชัย สร้างด้วยไม้ลงรักปิดทอง ศิลปะล้านนา

ด้านหลังมีเจดีย์ทรงปราสาทตั้งอยู่ เรือนธาตุทรงกลมสามชั้นทาสีขาว ส่วนเรือนยอดลงรัก

ปิดทอง ประดับฉัตรทองเจ็ดชั้น สวยงาม และเยี่ยมชมธรรมมาสโบราณศิลปะยุคเขลางค์

นคร

  • วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณ ซากเมืองโบราณ ลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซม นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมีความสวยงามทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป
  • วัดไหล่หิน สถาปัตยกรรมวัดไหล่หิน เป็นรูปแบบพุทะศาสนาแบบล้านนา ประกอบด้วยลานหน้าวัด หรือ ข่วง สำหรับกิจกรรมและปลูกต้นโพธิ์ วิหารโถง ศาลาบาตรและลานทราย และมีเจดีย์ท้ายวิหารแบบล้านนาซึ่งเชื่อว่าบรรจุ พระบรมธาตุ มีรูปแบบจำลองภูมิจักรวาล คือวิหารเปรียบเสมือนชมพูทวีป เจดีย์เปรียบเหมือนเขาพระสุเมรุ และลานทรายเปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรื่องเล่าแห่งสายน้ำ ข้ามสะพานแห่งวัฒนธรรม พื้นที่หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตำบลผาบ่อง ตำบลหมอกจำแป่ และตำบลปางหมู  อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

“เรื่องเล่าแห่งสายน้ำ” คือเรื่องราวและวิถีชุมชนของทั้ง 3 ตำบล นั้น มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำปายตอนล่าง ซึ่งเรื่องราวทุกอย่างนั้นล้วนเกิดขึ้นจากประเพณี และวิถีวัฒนธรรมชองชาวไทยใหญ่ “ข้ามสะพานแห่งวัฒนธรรม” คือเรื่องราวของสะพานต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน 3 ตำบลนั้น แต่ละแห่งมีจุดเริ่มต้นมากจากความศรัทธาของคนในชุมชนนั้นๆ อย่างเช่น สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานที่ถูกสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวบ้านปางหมู และชาวบ้านกุงไม้สัก เพื่อให้พระภิกษุ และสามเณร สามารถมีหนทางที่ข้ามมาเพื่อรับบิณฑบาตได้ ในช่วงหน้าน้ำ

สถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชน

บ้านหมอกจำแป่

  • ปางอุ๋ง หรือ “โครงการพระราชดำริปางตอง 2” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด ดงสนสองใบเรียงรายตลอดแนวอ่างเก็บน้ำปางตอง ที่มีหนาวเย็นตลอดปี จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “สวิสเซอร์แลนด์แห่งแดน 3 หมอก” หรือ “สวรรค์บนดิน”
  • ภูโคลน เป็นแหล่งโคลนที่มีคุณสมบัติพิเศษ มาจากโคลนธรรมชาติที่ผุดขึ้นจากสายน้ำแร่ใต้พื้นดินที่มีความร้อนตั้งแต่ 60-140 องศาเซลเซียส ได้รับการยกย่องว่าเป็นตะกอนโคลนที่มีคุณภาพติดอันดับโลก
  • วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ เป็นนน้ำตกที่ไหลมาจากน้ำตกแม่สะงาในเมียนมารและแบ่งเป็นชั้นผายาว
  • ผาลาด ผาเสื่อ ผาตั้งและผาฮ่อม ซึ่ง “ผาเสื่อ” เป็นชั้นที่คนนิยมมาเที่ยวมากที่สุด เพราะมีความงามของสายน้ำที่ตกลงมากระทบแผ่นหิน แตกเป็นฝอยกระจายเต็มผาหินกว้างดูคล้ายเสื่อที่ปูลาดเอาไว้
  • บ้านรักไทย ชุมชนชาวจีนยูนานที่รายล้อมไปด้วยบ้านดินชั้นเดียว มุงหลังคาด้วยใบตองสไตล์จีน ด้วยทิวทัศน์ของทิวเขาและทะเลสาบ เพลิดเพลินไปกับไร่ชาขั้นบันไดไล่ระดับ อาหารตำรับจีนยูนานจานเด็ดและชาเลิศรส
  • พระตำหนักปางตอง เรือนประทับแรมบนเขาสูงภายในโครงการพัฒนาที่สูงปางตอง ภายใน

มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การให้อาหารแกะ การตัดขนแกะ และทอผ้าขนแกะด้วยมือ การเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการฯ ในพระราชดำริ

  • วัดหมอกจำแป่ ศิลปะแบบไทใหญ่ที่มีอุโบสถเป็นไม้สักทองทั้งหลัง นับเป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมประเพณี และพิธีการทางศาสนาของชาวบ้านหมอกจำแป่ ชมบานหน้าต่างที่แกะสลักเป็นพระเวชสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

บ้านปางหมู

  • อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ บนพื้นที่ที่ กว่า 2 แสนไร่ รวมเอาสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติไว้มากมาย น้ำตกแม่สุรินทร์จัดเป็นน้ำตกที่มีความสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสูงเกือบ 200 เมตร โดยทิ้งสายน้ำเป็นทางยาวลงมาจากหุบเขาสูง
  • ดอยปุยหลวง อยู่ภายในพื้นที่อุทยานฯ น้ำตกแม่สุรินทร์มีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,700 เมตรอากาศหนาวจัดบนยอดมีพื้นที่แบนราบกว้างใหญ่คล้ายภูกระดึง
  • ทุ่งดอกบัวตอง สถานที่ท่องเที่ยวอันงดงามอีกแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณอุทยานฯ น้ำตกแม่สุรินทร์ ดอกบัวตองจะบานเต็มที่ด้วยสีสันที่สวยงามในช่วงฤดูหนาว
  • ถ้ำฮู้หายใจ เป็นถ้ำขนาดกลาง มีสายน้ำไหลออกมาจากด้านในลงสู่ลำธารหน้าถ้ำ ที่น่าแปลกคือ ทุกๆ 25 นาที จะมีสายน้ำผุดออกมาจากผนังถ้ำและมีเสียงเหมือนคนกำลังหายใจ
  • สะพานซูตองเป้ หรือ “สะพานแห่งศรัทธา” เป็นสะพานไม้ไผ่ยาว 500 เมตร ทอดข้ามทุ่งนาและลำน้ำแม่สะงา เพื่อให้พระสงฆ์สามารถออกบิณฑบาตจากสวนธรรมภูสมะไปยังบ้านกุงไม้สัก โดยชาวบ้านที่มีศรัทธาได้ร่วมกันสร้าง ชื่อว่า “ซูตองเป้” ตามภาษาไทใหญ่หมายถึง “อธิษฐานสู่ความสำเร็จ”
  • บ้านไตโบราณ (เฮินไต) ที่เป็นทั้งโฮมสเตย์และแหล่งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ ที่ยัง มีความดั้งเดิมทั้งรูปทรงวัสดุและวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน
  • ครกอัดน้ำมันงาบ้านสบสอย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทใหญ่ที่สืบทอดกันมาชานานกว่า 100 ปี โดยใช้พลังงานน้ำหมุนกังหัน น้ำมันงาที่ปลอดสารเคมีและยังคงคุณค่าอาหาร
  • วัดปางหมู โบราณสถานที่สร้างจากศิลปะแบบไทใหญ่ พระประธานมีความเก่าแก่งดงาม ที่ไม่ควรพลาดชมคือ เสาต้นหนึ่งที่สร้างเป็นนรูปทรงของกลองก้นยาว มีความสูงจรดเพดานวัดและมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก

บ้านผาบ่อง

  • สะพานข้าวก้าวเพื่อสุข จากตัวเมืองเพียง 10 นาที เป็นสะพานไม้ไผ่ที่ทอดยาวไปในนาข้าว ปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวของหมู่บ้านยังเป็นสถานที่ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ
  • วัดผาบ่องเหนือ นับตั้งแต่ศาลาการเปรียญ เจดีย์ ไปจนถึงพระประธานในศาลา บ่งบอกถึงรูปแบบศิลปะที่มาจากไทใหญ่
  • วัดผาบ่องใต้ ชมศิลปะความงามอันเป็นเอกลักษณ์ของไทใหญ่ผสมกับเมียนมาร์ โดยเฉพาะงจองพาราสังกะสี ฝีมือปราณีตงดงามอายุกว่า 100 ปี
  • กาดซอกจา หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นนสถานที่จับจ่ายซื้อหาอาหารพื้นเมืองไทใหญ่ ข้าวอินทรีย์และผักปลอดสารพิษ
  • บ่อน้ำร้อนผาบ่อง จากแม่ฮ่องสอนไปทางอำเภอขุนยวม ตามทางหลวงหมายเลข 108

บ่อน้ำร้อนที่มีแร่กำมะถันเจือปนและมีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก

  • บ้านน้ำเพียงดิน เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมลองเรือหางยาวจากลำน้ำปายผ่านบ้าน

ห้วยเดื่อไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินตลอดลำน้ำจะผ่านระลอกน้ำที่ลดหลั่นกันไปคล้ายธารน้ำตก

“ชาวปาด่อง” หรือ “กะเหรี่ยงคอยาว” ทั้งด้านการแต่งกายและการสวมหวงคอทองเหลืองเลยจากบ้านน้ำเพียงดินไปอีกสักพัก จะถึง “ผ้าห่มน้ำ” ในเขตเมียนมาร์ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง

  • ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ (ท่าโปงแดง) เยี่ยมชมเรือน

ประทับแรมโป่งแดงและพลับพลาทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรฯ รัชกาลที่ 9 พบแปลงนากว้าง กุหลาบหลากหลายพันธุ์ รวมถึงกิจกรรมขี่ช้างและล่องแพลำน้ำปาย

พร้อมกันนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 1 ชวนเที่ยว ชม ช้อป สินค้าของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างในพื้นที่

“เชิญแอ่ว ออนใต้ วิถีอัตลักษณ์ บ้านจุ้ม เมืองเย็น”

ระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2560

ณ วัดป่าตึง (ห้วยหม้อ) ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

 

“เที่ยวท่องล่องวิถีแห่งสายน้ำ ข้ามผ่านสะพานวัฒนธรรม

ระหว่างวันที่  11-14 สิงหาคม 2560

ณ สวนธรรมภูสมะ ซูตองเป้ ตำปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

“ท่องเที่ยววิถีไทยอง เยือนแผ่นดินถิ่นหัตกรรม”

ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2560

ณ หน้าวัดดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

 

“รักหนา ก๋าไก่”

ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2560

ณ หน้าวัดศาลาบัวบก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง