ชุมชนบ้านเทพารามยังคงความเรียบง่าย ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันมีพืชเศรษฐกิจ คือ “ไม้ไผ่” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างรายได้หลัก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บ้านเทพารามจึงมีชื่อเสียงเรื่องงานจักสาน รวมถึงงานฝีมืออีกมากมาย
วันอังคาร ที่ 25 กันยายน2561 ณ บริเวณลานหน้าศาลเจ้าพ่อฮุ้งขาว ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นางสุภาพรรณ บุญถนอม นายอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านเทพาราม ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมด้วยท่านพัฒนาการอำเภอสารภี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สื่อมวลชน แขกผู้มีเกียรติและพี่น้องบ้านเทพาราม
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นโครงการที่เกิดจากการที่รัฐบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อยกระดับสวัสดิการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ สร้างโอกาสในอาชีพและการจ้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน โดยการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีการบูรณาการ ประสานเชื่อมโยงการทำงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชนและกลุ่มองค์กรชุมชน ทั้งนี้มีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP ออกจากชุมชน สู่การสร้างรายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการขายสินค้าอยู่ในชุมชน ที่มาจากการท่องเที่ยว โดยใช้เสน่ห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ แปลงเป็นรายได้ โดยที่ครอบครัวและลูกหลานยังอยู่ร่วมกัน ไม่ต้องแข่งขันนำผลิตภัณฑ์ออกไปขายนอกชุมชน เป็นหมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว ที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี ชวนกันคิด ชวนกันทำ ผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงมีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระดับชุมชน ที่มีเสน่ห์ดึงดูดและมีคุณค่าเพียงพอ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน ซึ่งรายได้ จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (Strength with in) และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) อย่างแท้จริง
การจัดกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านเทพาราม ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นการสร้างช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนสนับสนุนและพัฒนาให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการได้เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการและการตลาด ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการตลาดรูปแบบใหม่ ที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างสะดวกและทั่วถึง โดยความร่วมมือภาครัฐ เอกชนและประชาชน
บ้านเทพาราม หมู่ที่ ๕ เดิมทีมีชื่อว่า “บ้านหน้าหอล่ามช้าง” ซึ่งในอดีตมีเจ้าเมืองเดินทัพผ่านบริเวณ ศาลเจ้าพ่อร่มขาว และได้ล่ามช้างไว้บริเวณนี้เพื่อพักทัพ จึงเป็นที่มาของชื่อ และในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น “บ้านเทพาราม” ในภายหลัง ซึ่งมีวัดเทพาราม และ ลานบริเวณหอหลวงเจ้าพ่อร่มขาวเป็นแหล่งรวมศรัทธาและกิจกรรมของชุมชน ซึ่งวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านเทพารามยังคงความเรียบง่าย ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันมีพืชเศรษฐกิจ คือ “ไม้ไผ่” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างรายได้หลัก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บ้านเทพารามจึงมีชื่อเสียงเรื่องงานจักสาน รวมถึงงานฝีมืออีกมากมาย เช่น
- งานจักสาน กระบุง ตะกร้า หรือกระจาด บ้านแม่เขียวข้องหลวง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของกลุ่มจักสาน บ้านเทพาราม ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียง คือ ข้องหลวง อันมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
- การแกะสลักไม้ แม่สำรวย ซึ่งวัตถุดิบหลักของการแกะสลัก คือ ไม้มะม่วงและไม้สัก ซึ่งแกะลายดอกไม้ หรือต้นไม้ ลงบนแจกัน หรือของต้องแต่งบ้าน
- กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง ป้าไพ เป็นกลุ่มตัดเย็บผ้าเมืองที่ทำกันในครอบครัวและสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน อันมีเอกลักษณ์จากการออกแบบลายและแพทเทิร์นเอง
- โคมไฟยี่เป็งกระดาษสา ป้าทอง เริ่มจากงานฝีมือในครัวเรือน จนกลายมาเป็นงานตกแต่งส่วนหนึ่งในงานประเพณีบ้านเทพาราม และ
- การเพ้นท์ผ้าและปักผ้า ลุงเอนก ลุงอเนกเป็นศิลปินประจำหมู่บ้าน มีเอกลักษณ์โดยการใช้สีอะคริลิควาดลวดลายตามจินตนาการของคุณลุงเอง และมีฝีมือการปักลายลงบนผ้าที่ละเอียดและสวยงาม
นอกจากนี้ในชุมชนบ้านเทพาราม ก็ยังมีงานฝีมือศิลปหัตถกรรม อื่นๆ อีกมากมาย
More Stories
“Chiang Mai Colourful Pride Month 2024”
“Water Festival 2024 เทศกาลวิถีน้ำ…วิถีไทย” 13-15 เม.ย.67
ลุ้นสลากกาชาดเชียงใหม่ กับรางวัลใหญ่บ้าน 2 หลัง รถยนต์ และอีกมากมายที่งานฤดูหนาว นางสาวเชียงใหม่ และงาน OTOP ของดีเมืองเชียงใหม่