Single Column Posts

ธันวาคม 22, 2024

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ จัดกิจกรรมสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการยกระดับ“ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์”

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ งานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyle“อลังการหัตถศิลป์ ถิ่นล้านนา พร้อมกิจกรรมมากมาย”เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม(Craftsmanship)และผู้ที่สนใจให้สามารถยกระดับฝีมือทักษะสูงต่อยอดและก้าวไปสู่การเป็น ประกอบการ(Entrepreneurship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคตต่อไป

เชียงใหม่-19 มิ.ย.62 ณ โรงเเรมดิเอ็มเพรส กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ กำหนดจัดงานงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyleกิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ)ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้า เมญ่าไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์จังหวัดเชียงใหม่และ กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ ๖-๘เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (ชั้น๔)      จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีบูธสินค้าและนิทรรศการ ๔ จังหวัด พร้อมกิจกรรมมากมาย

นางพรสวรรค์​หมายยอดผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชนกล่าวว่าตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่นิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่น สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในปี พ.ศ.๒๕๕๗ จำนวน ๘๐,๘๗๓ ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน ๑๑,๒๐๘,๑๒๕ คน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ หัตถกรรมเครื่องเขินของภาคเหนือถือว่าเป็นงานที่มีอัตลักษณ์และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงมาช้านาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้ดำรงไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิต รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จึงเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปหัตถกรรมเครื่องเขิน ให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องเขิน และผู้ที่สนใจ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการกระตุ้นเพื่อรักษาภูมิปัญญาประยุกต์ใช้ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองไม่เห็นหรือยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) ผ่านการคิดค้นการใช้งานรูปแบบใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์เดิมไม่เคยทำได้มาก่อน (New Usage) หรือสร้างคุณค่าใหม่ (New Value) ในสายตาของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ (Potential Market)

โดยวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม(Craftsmanship)และผู้ที่สนใจให้สามารถยกระดับฝีมือทักษะสูงต่อยอดและก้าวไปสู่การเป็น ประกอบการ(Entrepreneurship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคตและก่อให้เกิดการสร้างมูลค้าเพิ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และออกแบบพัฒนาผลิภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินที่สามรถตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการ/ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม/ วิสาหกิจชุมชน นักเรียน นักศึกษารวมไปถึงประชาขนทั่วไปที่ประกอบการหรือมีความสนใจในงานหัตถกรรมเครื่องเขิน

                พื้นที่ดำเนินกิจกรรมแสดงนิทรรศการและการจำหน่ายสินค้า

จังหวัดเชียงใหม่ และ กรุงเทพฯ และปริมณฑล

กิจกรรมของการจัดงาน อุตสาหกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม Life style กล่าวว่ากิจกรรมหลัก ๆ ใน      งานประกอบไปด้วย

กิจกรรมที่ ๑ทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ)

๑. กิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ) ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒          ณ ศูนย์การค้า เมญ่าไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่สำหรับการทดสอบตลาดโดยแสดงผลงาน                “ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์” ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง ๓๐ ผลิตภัณฑ์

-กิจกรรมคัดเลือกผลิตภัณฑ์เข้าร่วมงานเครื่องเขินโลกการประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ชิงเงินรางวัล         มูลค่ารวมกว่า ๑๒๐,๐๐๐ บาท

กิจกรรมที่ ๒กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา

๑.กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนาและ กิจกรรมสร้างการรับรู้        และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ ๖-๘ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ศูนย์การค้า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (ชั้น๔) จังหวัดกรุงเทพมหานครมีบูธสินค้าและนิทรรศการ ๔จังหวัด พร้อมกิจกรรมมากมายการจัดพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้า ของกลุ่มภาคเหนือตอนบน ๑ซึ่งจะมีจำนวนบูธแสดงและจำหน่ายสินค้า จำนวน ๓๐บูธ และนิทรรศการแสดงงานผลงานความก้าวหน้าของเครื่องเขิน

ดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า

ตามกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขินของกิจกรรมภายในโครงการ โดยมีการการจัดหาวิทยากรผู้มีความรู้ความเชียวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการการเก็บรักษาคุณภาพยางรัก เทคนิคการกรีดยางรักเทคนิคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในรูปแบบการอนุรักษ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคนิคการทำเครื่องเขินตามรูปแบบไลฟ์สไตล์ในพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน)ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตหัตกรรมเครื่องเขิน (ต้นน้ำ) และยังมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย ๑๐๐ ราย และคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพให้เหลือ ๑๕ รายรวมไปถึงดำเนินการคัดเลือก จากการผู้เข้าร่วมจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินจำนวน ๑๕ ราย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ และกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ (กลางน้ำ)

ต่อเนื่องด้วยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๕ ราย และยังเป็นวิทยากรร่วมกับ /ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขินอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำอย่างน้อย ๕ วันและดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวนอย่างน้อย๒ ชิ้น/ราย อีกด้วยในกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นของโครงการ กิจกรรมยกระดับหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ภายใต้โครงการ ยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ โทร ๐๕๓ ๒๔๕ ๓๖๑และ บจก. เทลเดม จำกัด โทร ๐๕๓๒๑๓๘๘๕