Single Column Posts

มกราคม 2, 2025

นิทรรศการ “ปัจจุบันขณะที่ไร้กาลเวลา” และงานเสวนาพร้อมทั้งเปิดตัวสูจิบัตรนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ที่เชียงใหม่

maiiam 0 170128 1513

เชียงใหม่ – เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคมที่ผ่านมา ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ พร้อมด้วย คุณอุทิศ อติมานะ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการศิลปะสาธารณะเชียงใหม่จัดวางสังคมในปี ๒๕๓๕ และ คุณโซอี บัต (Zoe Butt) อดีตผู้อำนวยการบริหารและภัณฑารักษ์จาก San Art ปัจจุบันกำลังจะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะที่ The Factory Contemporary Art Centre เมืองโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมกันเสวนาหัวข้อ สุนทรียะเชิงจิตวิญญาณในบริบทร่วมสมัย โดยมี คุณวิภาช ภูริชานนท์ ภัณฑารักษ์อิสระ เป็นผู้ดำเนินรายการ ท่ามกลางผู้ร่วมกิจกรรมและสื่อมวลชนจำนวนมาก

MAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAMMAIIAM

คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ เกิดเมื่อปี ๒๕๐๗ ที่จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันพำนักและทำงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาภาพพิมพ์ที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนที่จะเดิอนทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี ๒๕๓๒-๒๕๓๕ โดยเข้าศึกษาที่ The Art Students League of New York หลังจากเรียนจบก็กลับมาอาศัยอยู่ที่เมืองไทยในปี ๒๕๓๕ และย้ายมาพำนักที่เชียงใหม่เป็นการถาวรเมื่อปี ๒๕๓๙ สองปีต่อมาจึงร่วมกับ คุณฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ก่อตั้งมูลนิธิที่นา (๒๕๔๑) ซึ่งเปลี่ยนพื้นที่นาให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับโครงการทางศิลปะและสถาปัตยกรรมเฉพาะที่ รวมถึงโครงการนักสร้างสรรค์ในพำนัก และเวิร์คชอปทางการเกษตรและงานฝีมือ จากความสนใจในการทำงานศิลปะร่วมกับผู้อื่นนี้ ทำให้ คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ  ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยของทศวรรษที่ ๓๑ ณ จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๕๔) โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมการประชุมสัมมนา “Stimulating Cities with Art” ที่ 21st Century Museum of Contempory Art ณ เมืองคานาซาว่า ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยของทศวรรษที่ ๓๑ ถูกปรับเ้ปลี่ยนไปในหลายรูปแบบ โดยที่เชียงใหม่นำเสนอในรูปแบบของโครงสร้างชั่วคราว จากการนำตู้คอนเทนเนอร์ขนสินค้าเก่ามาดัดแปลงใหม่ (๒๕๕๓) ที่ชิคาโก สหรัฐอเมริกา นำเสนอในรูปแบบปฏิบัติการเชิงสัมมนาและนิทรรศการที่ The School of Art Institue of Chicago (๒๕๕๔) และที่ประเทศญี่ปุ่นนำเสนอในรูปแบบโปรเจคหนังสือสำหรับเทศกาลศิลปะ Niigata (๒๕๕๕)

0 170128 1502 MAIIAM0 170128 1528 001MAIIAM0 170128 1600 002MAIIAM0 170128 1619MAIIAM

ภารกิจในชีวิตของ คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ คือ การตามหาคุณค่าและความหมายของการมีชีวิต ในฐานะศิลปิน คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ จึงต้องการแบ่งปันประสบการณ์ที่ค้นพบจากการทุ่มเทและทำความเข้าใจผ่านกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ ปัญหาที่ คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ สนใจคือ การทำอย่างไรให้เข้าใจและเป็นอิสระจากทุกสิ่ง คำตอบที่ คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ ได้รับคือ เราจะเข้าใจทุกสิ่งจากสิ่งที่เล็กที่สุดและใกล้ตัวที่สุดนั่นก็คือ ตัวเราเอง ถ้าเราเข้าใจตัวเองและรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดการเข้าใจตัวเองก็จะช่วยทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ ทุกช่วงเวลาของชีวิตจะสัมพันธ์กับประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่ในสมอง เช่น หากช่วงเวลานั้นของชีวิตเราสนใจการนั่งปฏิบัติธรรม อ่านหนังสือ หรือการทำงานศิลปะ เมื่อพัฒนากิจกรรมเหล่านั้นไปถึงจุดหนึ่ง ประเด็นที่เราสนใจก็จะเคลื่อนตาม เพราะเราเข้าใจวิธีคิดที่ต่างออกไป และเข้าใจชีวิตต่างออกไป เป็นต้น

MAIIAM 0 170128 15110 170128 1529MAIIAM0 170128 1603 002MAIIAM0 170128 1624MAIIAM

คุณคามิน เลิศชัยประเสริฐ แสดงผลงานเดี่ยวหลายครั้งทั้งต่างประเทศและในเมืองไทย เช่น นำทอง แกลเลอรี่ กรุงเทพมหานคร (๒๕๔๒, ๒๕๔๓, ๒๕๔๔, ๒๕๔๖, ๒๕๕๒, ๒๕๕๕, และ ๒๕๕๗) และ อาร์ท ยู รูม แกลเลอรี่ ประเทศญี่ปุ่น (๒๕๔๘, ๒๕๕๒, และ ๒๕๕๗) นอกจากนี้ ยังได้รับคัดเลือกให้แสดงผลงานในระดับนานาชาติอีกหลายครั้ง เช่น ซิดนีย์ เปียนนาเล่ (๒๕๓๖ และ ๒๕๕๓), เอเชีย แปซิฟิก ไทรเอ็นเนียล ครั้งที่ ๒ ทีึ่หอศิปล์ ควีนแลนด์ ณ ประเทศออสเตรเลีย (๒๕๓๙) รวมถึงจัดแสดงในส่วน Utopia Station ที่เวนิสเบียนนาเล่ (๒๕๔๖), นิทรรศการ Dump Postmodern Sculp 3 true in the Dissolved Field ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปแะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบแห่งชาติ ณ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ (๒๕๕๐), ปูซาน เบียนนาเล่ ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (๒๕๕๑), กว่างโจว ไทรเอ็นเนียล ณ เมืองกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน (๒๕๕๔), นิทรรศการ Negotiating Home, History and Nation: Two Decades of Contemporary Art in Southeast Asia 1991-2011 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (๒๕๕๔) และนิทรรศการ Secret Archipelago ที่พิพิธภัณฑ์ปาเล่ เดอ โตเกียว ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (๒๕๕๘) เป็นต้น

MAIIAM 0 170128 15170 170128 1533MAIIAM0 170128 1605MAIIAM0 170128 1637MAIIAM

อะไรคือสิ่งที่ให้คุณค่าแก่การทำให้เราเข้าใจชีวิต นั่นคือคำถามแรกที่ศิลปินถามต่อการดำเนินกิจกรรมใดก็ตาม ปัจจุบันศิลปินให้ความสนใจในเรื่อง สุนทรียะเชิงจิตวิญญาณ (Spiritual Aesthetic) สำหรับศิลปินนั้น สุนทรียะเชิงจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่มากไปกว่าการแสดงออกทางกายภาพ สุนทรียะเชิงจิตวิญญาณเป็นสื่อ? ที่ใช้อธิบายธรรมชาติ เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างรูปธรรมสู่นามธรรม เมื่อเป็นสุนทรียะศาสตร์เชิงจิตวิญญาณ กรอบของเข้าใจพื้นฐานจึงเหลือเพียงแค่เจตนา และเป็นบันทึกประสบการณ์ความจริงของชีวิต

MAIIAMMAIIAM0 170128 1543MAIIAM0 170128 1607MAIIAM

ผู้ร่วมกิจกรรมในวันนี้มีโอกาสร่วมหาบทสรุปของนิทรรศการผ่านการเสวนา สุนทรียะเชิงจิตวิญญาณในบริบทร่วมสมัย มีโอกาสเข้าใจการทำงานเชิงจิตวิญญาณว่ามีประโยชน์อย่างไรต่อโลกร่วมสมัยและจะนำไปใช้อย่างไรในชีวิต และมีโอกาสร่วมฟังบรรยายพร้อมทั้งสนทนาแลกเปลี่ยนกับศิลปิน ซึ่งการเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ปัจจุบันขณะที่ไร้กาลเวลา อันเป็นนิทรรศการที่รวบรวมผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบที่ผ่านมาของศิลปินกว่า ๓๖ ปี ที่กำลังจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม บ้านเลขที่ ๑๒๒ หมู่ ๗ ตำบลสันต้นเปา อำเภอสันกำแพง จนถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

 

0 170128 1609 0 170128 1612 0 170128 1615 001 0 170128 1615 003 MAIIAM0 170128 1606 002

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@maiiam.com, และ www.maiiam.com

MAIIAM

พิพัฒน์ ศรีตะวัน ภาพ/ข่าว