Single Column Posts

ตุลาคม 6, 2024

Chiang Mai Crafts Forum 2019

เชียงใหม่จัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์งานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่และยกระดับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อันเป็นสากล ในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2562 ณ โครงการวันนิมมาน (ONE NIMMAN)

ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นหนึ่งในภารกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องด้วยเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ  โดยรัฐบาลได้จัดให้มีกลไกการบริหาร คือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ภายใต้ระเบียบกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรีและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วประเทศ และในปี 2562 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินงาน “โครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่”(Crafts and Creative Folk Art Network Development Project :  CC Net)  ที่ได้หยิบยกและดึงเอาจุดเด่น อัตลักษณ์ของผลงานด้านศิลปหัตถกรรมในชุมชนท้องถิ่น มาเชื่อมโยงกับคุณค่าของทองคำเปลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เป็นศิริมงคล  เพื่อผสมผสานสร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีมูลค่ายิ่งขึ้น อีกทั้งยังเชื่อมร้อยกับบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

โดยการส่งเสริมการออกแบบหัตถกรรมโดยใช้ทองคำเปลวประดับ ซึ่งมีครูภูมิปัญญาเชียงใหม่ และนักออกแบบรุ่นใหม่ที่รังสรรค์ผลงาน ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย และ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (UNESCO Creative Cities Network Crafts and Folk Art) ในปี 2562 ทางโครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (CC Net) จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์งานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่และยกระดับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อันเป็นสากล ในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2562 ณ โครงการวันนิมมาน (ONE NIMMAN)  เวลา 09.30 – 20.00 น. ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

  1. กิจกรรมร่วมกับชุมชนหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่โดยรูปแบบกิจกรรมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านแม่วาง อำเภอแม่วาง, ชุมชนต้นเปา อำเภอสันกำแพง, บ้านถวาย อำเภอหางดง  
  2. ประชุมวิชาการนานาชาติ “Chiang Mai Crafts Forum 2019” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงาน ของสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO และกลุ่มงานหัตถกรรมโลก World Crafts Council
  3. งานแสดงผลงานหัตถกรรมจากโครงการพัฒนาเครือข่ายหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่ ที่รังสรรค์โดยผสานการใช้ทองคำเปลวกับงานหัตถกรรมม ในชื่องาน “One Craft One Gold” บริเวณลานกิจกรรม One Square

Chiang Mai Crafts Forum 2019

จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 โดยเป็นการส่งเสริมงานหัตถกรรมที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ของเมืองเชียงใหม่ ที่สามารถขับเคลื่อนเมืองในเรื่องของงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ ช่างฝีมือ แสดงให้กับนานาประเทศได้รับทราบ ถึงอัตลักษณ์อันโดดเด่นนี้ เพื่อหารือและขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลกและการก้าวต่อไปของ เชียงใหม่ จึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนระหว่างคณะทำงานและผู้เชี่ยวชาญในระดับประเทศ และนานาชาติ ด้านการอนุรักษ์, การออกแบบ และ พัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์ ให้เป็นที่รับรู้และยอมรับในระดับสากล โครงการพัฒนาเครือข่ายงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์เชียงใหม่ (Crafts and Creative Folk Art Network Development Project :  CC Net)  จึงมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมนานาชาติ “Chiang Mai Crafts Forum 2019” ครั้งนี้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานของสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO  ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยั่งยืน (SDGs) ในการประชุมครั้งนี้ได้มีสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO จำนวน 7 เมือง และ 3 เมือง ในการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ และ งานหัตถกรรม ได้แก่

  1. เมืองภูเก็ต ประเทศไทย ด้านอาหาร (Gastronomy)
  2. เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art)

  • เมืองจิงเต๋อเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art)

  • เมืองวูฮัน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาขาการออกแบบ (Design)
  • เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น สาขาการออกแบบ (Design)
  • เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น สาขาการออกแบบ (Design)
  • เมืองซาซาย่าม่า ประเทศญี่ปุ่น สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts and Folk Art

  • กลุ่มหัตถศิลป์โลก (world crafts council)
  • พื้นที่เมืองสร้างสรรค์ (Pop Up Asia Taiwan)
  •  กลุ่มคนรุ่นใหม่ในการทำงานหัตถกรรมของ Taiwan