กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ งานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyle“อลังการหัตถศิลป์ ถิ่นล้านนา พร้อมกิจกรรมมากมาย”เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม(Craftsmanship)และผู้ที่สนใจให้สามารถยกระดับฝีมือทักษะสูงต่อยอดและก้าวไปสู่การเป็น ประกอบการ(Entrepreneurship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคตต่อไป

เชียงใหม่-19 มิ.ย.62 ณ โรงเเรมดิเอ็มเพรส กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ กำหนดจัดงานงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyleกิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ)ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้า เมญ่าไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์จังหวัดเชียงใหม่และ กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ ๖-๘เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (ชั้น๔) จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีบูธสินค้าและนิทรรศการ ๔ จังหวัด พร้อมกิจกรรมมากมาย

นางพรสวรรค์หมายยอดผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชนกล่าวว่าตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่นิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่น สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในปี พ.ศ.๒๕๕๗ จำนวน ๘๐,๘๗๓ ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน ๑๑,๒๐๘,๑๒๕ คน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ หัตถกรรมเครื่องเขินของภาคเหนือถือว่าเป็นงานที่มีอัตลักษณ์และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงมาช้านาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้ดำรงไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิต รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จึงเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปหัตถกรรมเครื่องเขิน ให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องเขิน และผู้ที่สนใจ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการกระตุ้นเพื่อรักษาภูมิปัญญาประยุกต์ใช้ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองไม่เห็นหรือยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) ผ่านการคิดค้นการใช้งานรูปแบบใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์เดิมไม่เคยทำได้มาก่อน (New Usage) หรือสร้างคุณค่าใหม่ (New Value) ในสายตาของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ (Potential Market)

โดยวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม(Craftsmanship)และผู้ที่สนใจให้สามารถยกระดับฝีมือทักษะสูงต่อยอดและก้าวไปสู่การเป็น ประกอบการ(Entrepreneurship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคตและก่อให้เกิดการสร้างมูลค้าเพิ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และออกแบบพัฒนาผลิภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินที่สามรถตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการ/ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม/ วิสาหกิจชุมชน นักเรียน นักศึกษารวมไปถึงประชาขนทั่วไปที่ประกอบการหรือมีความสนใจในงานหัตถกรรมเครื่องเขิน

พื้นที่ดำเนินกิจกรรมแสดงนิทรรศการและการจำหน่ายสินค้า
จังหวัดเชียงใหม่ และ กรุงเทพฯ และปริมณฑล
กิจกรรมของการจัดงาน อุตสาหกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม Life style กล่าวว่ากิจกรรมหลัก ๆ ใน งานประกอบไปด้วย
กิจกรรมที่ ๑ทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ)
๑. กิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ) ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้า เมญ่าไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่สำหรับการทดสอบตลาดโดยแสดงผลงาน “ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์” ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง ๓๐ ผลิตภัณฑ์
-กิจกรรมคัดเลือกผลิตภัณฑ์เข้าร่วมงานเครื่องเขินโลกการประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ชิงเงินรางวัล มูลค่ารวมกว่า ๑๒๐,๐๐๐ บาท

กิจกรรมที่ ๒กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา
๑.กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนาและ กิจกรรมสร้างการรับรู้ และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ ๖-๘ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ศูนย์การค้า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (ชั้น๔) จังหวัดกรุงเทพมหานครมีบูธสินค้าและนิทรรศการ ๔จังหวัด พร้อมกิจกรรมมากมายการจัดพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้า ของกลุ่มภาคเหนือตอนบน ๑ซึ่งจะมีจำนวนบูธแสดงและจำหน่ายสินค้า จำนวน ๓๐บูธ และนิทรรศการแสดงงานผลงานความก้าวหน้าของเครื่องเขิน

ดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
ตามกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขินของกิจกรรมภายในโครงการ โดยมีการการจัดหาวิทยากรผู้มีความรู้ความเชียวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการการเก็บรักษาคุณภาพยางรัก เทคนิคการกรีดยางรักเทคนิคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในรูปแบบการอนุรักษ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคนิคการทำเครื่องเขินตามรูปแบบไลฟ์สไตล์ในพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน)ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตหัตกรรมเครื่องเขิน (ต้นน้ำ) และยังมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย ๑๐๐ ราย และคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพให้เหลือ ๑๕ รายรวมไปถึงดำเนินการคัดเลือก จากการผู้เข้าร่วมจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินจำนวน ๑๕ ราย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ และกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ (กลางน้ำ)
ต่อเนื่องด้วยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๕ ราย และยังเป็นวิทยากรร่วมกับ /ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขินอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำอย่างน้อย ๕ วันและดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวนอย่างน้อย๒ ชิ้น/ราย อีกด้วยในกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นของโครงการ กิจกรรมยกระดับหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ภายใต้โครงการ ยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๑ โทร ๐๕๓ ๒๔๕ ๓๖๑และ บจก. เทลเดม จำกัด โทร ๐๕๓๒๑๓๘๘๕
More Stories
“World Tea and Coffee Expo 2022” งานชากาแฟใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ชูไฮท์ไลท์ “ไฮบริดเอ็กซ์ซิบิชั่น”
“GI NORTHERN MARKET” มหกรรมสินค้า GI สินค้าอนาคต GI
Lanna Expo 2021 ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด “กินดี อยู่ดี ชีวิตวิถีใหม่” 7 – 16 มกราคม 2565 นี้